งานที่1 นโยบายค่าตอบแทนของบริษัท(AIS) วิชา บริหารค่าตอบแทน นภัสชล วงเส 60505150063-1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ส่งอาจารย์ ปริญญา สีม่วง
นโยบายค่าตอบแทนของบริษัท AIS
เริ่มแรกจดทะเบียนก่อตั้งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2529 เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยเอไอเอสทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการโครงการบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ เป็นระยะเวลา 30 ปี ถึง พ.ศ. 2561
เอไอเอสเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หลังจากนั้นบริษัทขยายกิจการโดยการเข้าซื้อกิจการในเครือชินวัตร เช่น ชินวัตร ดาต้าคอม (ปัจจุบันคือ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวิร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด), ชินวัตร เพจจิ้ง เป็นต้น บริษัทเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบจีเอสเอ็ม ในชื่อ Digital GSM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้ขยายเวลาร่วมสัญญาเป็น 25 ปี (หมดสัญญาปี พ.ศ. 2558) เมื่อ พ.ศ. 2539 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ยังได้ว่าจ้าง บริษัท พี อี แอนด์ พี เทค จำกัด ผลิตน้ำดื่มตรา เอไอเอส เพื่อบริการลูกค้า ที่เข้าใช้บริการ
ที่มา : https://bit.ly/38V5zrI
โครงสร้างการบริหารงาน
วิสัยทัศน์
เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในประเทศไทย
พันธกิจ
เสริมสร้างการดำเนินชีวิตด้วยบริการเทคโนโลยีดิจิทัล
- ส่งมอบบริการที่เหนือกว่า เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิต รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถและ ประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ใช้บริการ
- ใส่ใจบริการลูกค้า เพื่อสร้างความผูกพันกับผู้ใช้บริการ
- เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่กระฉับกระเฉง ให้บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ มี ความคิดเชิงบวก และมีแนวคิดในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจเพื่อการเติบโตขององค์กร
- สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
โครงสร้างค่าตอบแทน
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนสำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง ดังนี้
ค่าตอบแทนและผลประโยชน์แบบคงที่
เงินเดือน
ระดับของค่าตอบแทนที่ได้รับ เป็นไปตามหน้าที่ ความรับผิดชอบตามตำแหน่งงาน ประสบการณ์และทักษะความชำนาญเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งทำการจ่ายเป็นเงินสดเข้าบัญชีทุกเดือน โดยจะมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี จากการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน และอัตราการขึ้นเงินเดือนในตลาดแรงงาน
ระดับของค่าตอบแทนที่ได้รับ เป็นไปตามหน้าที่ ความรับผิดชอบตามตำแหน่งงาน ประสบการณ์และทักษะความชำนาญเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งทำการจ่ายเป็นเงินสดเข้าบัญชีทุกเดือน โดยจะมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี จากการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน และอัตราการขึ้นเงินเดือนในตลาดแรงงาน
ผลประโยชน์อื่น และผลประโยชน์พิเศษ
วัตถุประสงค์หลักของการให้ผลประโยชน์อื่น และผลประโยชน์พิเศษ คือการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับพนักงาน และช่วยเหลือในกรณีพนักงานสูงอายุ ประสพปัญหาด้านสุขภาพ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แผนประกันสุขภาพ และสวัสดิการต่างๆ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในตลาดแรงงาน และตามที่กฎหมายกำหนด
วัตถุประสงค์หลักของการให้ผลประโยชน์อื่น และผลประโยชน์พิเศษ คือการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับพนักงาน และช่วยเหลือในกรณีพนักงานสูงอายุ ประสพปัญหาด้านสุขภาพ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แผนประกันสุขภาพ และสวัสดิการต่างๆ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในตลาดแรงงาน และตามที่กฎหมายกำหนด
ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน
โบนัสตามผลงาน
เป็นรางวัลตอบแทนที่แปรผันตามความสำเร็จของผลงานในระยะสั้น เมื่อเทียบกับแผนงานประจำปีที่ได้กำหนดไว้ โดยเทียบเคียงกับค่าตอบแทนในตลาดแรงงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เงินโบนัสตามผลงานนี้จะผูกกับดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ประจำปี ซึ่งเป็นผลรวมจากตัววัดผลที่หลากหลาย และมีการถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญของแต่ละปัจจัย โดยเป็นการตัดสินผลการปฏิบัติงานโดยรวมของบริษัท และของพนักงานรายบุคคล
เป็นรางวัลตอบแทนที่แปรผันตามความสำเร็จของผลงานในระยะสั้น เมื่อเทียบกับแผนงานประจำปีที่ได้กำหนดไว้ โดยเทียบเคียงกับค่าตอบแทนในตลาดแรงงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เงินโบนัสตามผลงานนี้จะผูกกับดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ประจำปี ซึ่งเป็นผลรวมจากตัววัดผลที่หลากหลาย และมีการถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญของแต่ละปัจจัย โดยเป็นการตัดสินผลการปฏิบัติงานโดยรวมของบริษัท และของพนักงานรายบุคคล
ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษนอกเหนือจากโบนัสตามผลงาน ค่าตอบแทนพิเศษนี้เป็นตัวผลักดันให้เกิดผลงานที่เป็นรากฐานของบริษัท โดยยึดหลักมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของบริษัท ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างผู้บริหารและผู้ถือหุ้น ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษส่วนหนึ่งจะถูกจ่ายออกเป็นเงินสด ซึ่งถือเป็นมูลค่าเชิงบวกในปีปัจจุบัน ส่วนเงินรางวัลที่เหลือจะถูกยกไปรวมไว้ในบัญชีสะสม อย่างไรก็ตามเงินรางวัลสะสมนี้อยู่ในกฎการเรียกคืนที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงาน และอาจมีมูลค่าลดลงหากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนั้นๆ
ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษนอกเหนือจากโบนัสตามผลงาน ค่าตอบแทนพิเศษนี้เป็นตัวผลักดันให้เกิดผลงานที่เป็นรากฐานของบริษัท โดยยึดหลักมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของบริษัท ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างผู้บริหารและผู้ถือหุ้น ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษส่วนหนึ่งจะถูกจ่ายออกเป็นเงินสด ซึ่งถือเป็นมูลค่าเชิงบวกในปีปัจจุบัน ส่วนเงินรางวัลที่เหลือจะถูกยกไปรวมไว้ในบัญชีสะสม อย่างไรก็ตามเงินรางวัลสะสมนี้อยู่ในกฎการเรียกคืนที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงาน และอาจมีมูลค่าลดลงหากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนั้นๆ
ค่าตอบแทนที่เป็นหุ้น
การให้การมีส่วนในการถือหุ้น มุ่งเน้นเป็นค่าตอบแทนในระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนให้กับบริษัท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการเป็นเจ้าของ และรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่ทรงคุณค่าของบริษัท บริษัทจึงได้พิจารณาจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้กับผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงได้ในอนาคต การจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญนี้ยังเป็นการแสดงความขอบคุณพนักงาน สำหรับความทุ่มเทในการทำงานที่มีส่วนช่วยเป็นอย่างสูงในการทำให้บริษัทเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จ
การให้การมีส่วนในการถือหุ้น มุ่งเน้นเป็นค่าตอบแทนในระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนให้กับบริษัท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการเป็นเจ้าของ และรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่ทรงคุณค่าของบริษัท บริษัทจึงได้พิจารณาจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้กับผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงได้ในอนาคต การจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญนี้ยังเป็นการแสดงความขอบคุณพนักงาน สำหรับความทุ่มเทในการทำงานที่มีส่วนช่วยเป็นอย่างสูงในการทำให้บริษัทเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จ
Success metrics
เอไอเอสใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Corporate Balanced Scorecard (BSC) ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง โดยผลการประเมินจะถูกนำไปใช้เพื่อกำหนดค่าตอบแทนประจำปี ซึ่ง BSC เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับในการวัดและติดตามความคืบหน้าของการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเอไอเอสกำหนดตัวชี้วัดภายใต้ BSC ประกอบด้วยแกนทางด้านการเงินและที่มิใช่การเงินดังนี้
การบริหารค่าตอบแทน ให้สอดคล้องกับความคาดหวัง
ของผู้ถือหุ้น
- การคัดเลือกระบบการวัดผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับแผนการดำเนินงานของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท และการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้นการทำให้เกิดความมั่นใจว่าตัวชี้วัดความสำเร็จที่ตั้งขึ้น มีความเหมาะสมกับขีดความสามารถในการดำเนินงานของบริษัท เป้าหมายของบริษัท และระดับผลการปฏิบัติงานที่มากขึ้น
การบริหารค่าตอบแทน ให้สามารถแข่งขันได้
- การบริหารค่าตอบแทนให้สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทสามารถที่จะดึงดูด และรักษาพนักงานที่ดี มีฝีมือ ให้มาทำงาน และอยู่สร้างผลงานให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องการเชื่อมโยงสัดส่วนระหว่างค่าตอบแทนและผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับทั้งผลตอบแทนรายปี และผลตอบแทนระยะยาว
- ที่มา : http://investor-th.ais.co.th/board_and_committee.rev
วีดีโอเกี่ยวกับบริษัท AIS
Comments
Post a Comment